วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Ex.08 การประกาศตัวแปร (Declare Variables)

ตัวแปรภาษา VB.NET ได้ออกแบบเมธอด MinValue และ MaxValue สำหรับแสดงค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด

1.  รูปแบบการประกาศตัวแปร 

                 Dim  Vaiable_Name  As  TypeofVarible


  • Dim เป็นการแจ้งต่อ  Visual  Basic  ว่าต้องการจะสร้างตัวแปรขึ้นมา 
  • Variable_Name เป็นการกำหนดชื่อตัวแปร  ซึ่งต้องสอดคล้องกับกฎการตั้งชื่อ ใน VB  หากต้องการประกาศหลายตัวให้ใช้เครื่องหมาย ,  คั่นระหว่างตัวแปร  
  • TypeVariable   เป็นการระบุชนิดข้อมูลที่เหมาะสมกับข้อมูลและปริมาณข้อมูลที่จัดเก็บอยู่ 


ตัวอย่างการประกาศตัวแปร 

Dim name As String
Dim Price As Double, I As Single
Dim Vat, sum, total As Single
Dim social As Single = 0.05

2.  อักขระระบุชนิดข้อมูล 
รูปแบบหนึ่งของการกำหนดชนิดข้อมูลก็คือการใช้อักขระระบุ  ตารางต่อไปนี้เป็นอักขระระบุชนิดข้อมูล  (Data  type  characters)  ของ  Visual  Basic


อักขระ
ชนิดข้อมูล
%
Integer
&
Long
@
Decimal
!
Single
#
Double
$
String
ชนิดข้อมูลกำหนดได้โดยใส่อักขระระบุชนิดข้อมูลไว้หลังจากชื่อของตัวแปร
ตัวอย่าง  การประกาศตัวแปร  num_dresserts  ชนิดข้อมูลแบบ  Long  และตัวแปร  satisfaction_quotient  ชนิดข้อมูลแบบ  Double

|1|  Dim  num_desserts&
|2|  Dim  satisfaction_quotient#
|3|  num_desserts = 100
|4|  satisfaction_quotient# = 1.23


 3.  กฎการประกาศตัวแปร

ชื่อตัวแปรต้องเป็นภาษาอังกฤษ และ และต้องเริ่มต้นด้วยอักษรภาษาอังกฤษหรือ _   และไม่เกิน 255 ตัวอักษร  ตัวแรกเป็นตัวอักษร ตัวต่อมาเป็นตัวอักษรหรือตัวเลข หรือขีดเส้นใต้ก็ได้  จะไม่มีเว้นวรรคในชื่อตัวแปร  ไม่ซ้ำกับคำสงวน (Reserved Word) ของ VB.NET เช่น String, Dim Variant  และควรตั้งชื่อให้สื่อความหมาย เพื่อให้สามารถอ่านและแก้ไขโปรแกรมได้ง่าย เช่น CustName, Price , Vat

ตัวอย่าง การนำตัวแปรมาแสดงผล 

ชื่อตัวแปร
ความหมาย
num_employees
ใช้ได้
NumEmployees
ใช้ได้
_manager
ใช้ได้  (แต่ไม่ใช่กรณีปกติ)
_
ใช้ไม่ได้  (มีเครื่องหมายขีดเส้นใต้เพียงตัวเดียว)
__
ใช้ได้  (ใช้เครื่องหมายขีดเส้นใต้สองตัวได้  แต่น่าสับสนมาก)
1 st_employee
ใช้ไม่ได้  (ไม่ได้เริ่มต้นด้วยตัวอักษรหรือขีดเส้นใต้)
ผลการรันโปรแกรม คือ


จากตัวอย่างการนำตัวแปรมาแสดงผล ของทั้งสอง จะให้ผลต่างกันมาก  หากตัวแปรอยู่ภายใต้เครื่องหมายคำพูด “ ”  ดังเช่นตัวอย่างที่ 2


ตัวอย่าง การนำรหัสควบคุมการแสดงผลมาใช้ ดังนี้ 

|1|  Module Module1
|2
|3|      Sub Main()
|4|          Dim MyAge As Integer = 25
|5|          Dim someMoney As Double = 39.45
|6
|7|          Console.WriteLine("The money is {0}. ${0} is a lot my age which is {1}.", someMoney, MyAge)
|8|          Console.ReadLine()
|9|      End Sub
|10|
|11| End Module


ผลการรันโปรแกรม คือ 



4. การประกาศค่าคงที่

การประกาศค่าคงที่  เป็นการนำค่าคงที่ (Constant) มาใช้เก็บค่าที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดโปรแกรม ช่วยให้เขียนและดูแลรักษาโปรแกรมได้ง่ายขึ้น

รูปแบบ

                 Const <ชื่อตัวแปร> [As <ชนิดข้อมูล>] = <ค่าคงที่>
  
จากรูปแบบข้างต้นสามารถระบุชนิดข้อมูลหรือไม่ก็ได้ เช่น

        Const ip As Single = 3.14
        Const cVatRate = 0.07
        Const lru As String = "Loei Rajabhat University" 

สรุป 
การประกาศตัวแปร (Declarations)  เป็นการกำหนดชื่อและชนิดข้อมูลให้กับตัวแปรเพื่อนำไปใช้ในโปรแกรม  โดยการตั้งชื่อจะต้องคำนึงถึงค่าของข้อมูล  และชนิดของข้อมูลที่อ้างอิง นอกจากนี้การตั้งชื่อควรให้สื่อความหมายของข้อมูล และอักษรของชื่อจะจำแนกแตกต่างกันระหว่างอักษรตัวพิมพ์เล็กกับอักษรตัวพิมพ์ใหญ่  ควรเป็นไปตามรูปแบบของการประกาศตัวแปร  และกฎของการประกาศตัวแปร


******************************************

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ30 มีนาคม 2565 เวลา 23:44

    Ex.08 การประกาศตัวแปร (Declare Variables) ~ Sourcecode Examples
    Microsoft Visual Basic.Net >>>>> Download Now

    >>>>> Download Full

    Ex.08 การประกาศตัวแปร (Declare Variables) ~ Sourcecode Examples
    Microsoft Visual Basic.Net >>>>> Download LINK

    >>>>> Download Now

    Ex.08 การประกาศตัวแปร (Declare Variables) ~ Sourcecode Examples
    Microsoft Visual Basic.Net >>>>> Download Full

    >>>>> Download LINK

    ตอบลบ

 
ไม่สงวนลิขสิทธิ์บทความใดๆในบล๊อคนี้ หากท่านเห็นว่าเป็นประโยชน์..สามารถเผยแพร่ได้ตามสมควร