วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Ex.05 การจัดรูปแบบการแสดงผล (Formatting String)

      ถ้าหากในเมธอด Write หรือ WirteLine ใช้วิธีการส่งค่าอาร์กิวเมนต์หลายตัว และต้องการ จัดรูปแบบการแสดงผลทางจอภาพให้สวยงาม สามารถทำได้โดยการใช้ placeholder {0}, {1}, {2} ตามลำดับไปเรื่อย ๆ  ดังนี้

รูปแบบ  Placeholder



  • x0,x1, x2,....xn คือ ข้อความ ตัวเลข หรือตัวแปรที่ต้องการแสดงผล
  • {0} {1} {2}..... {n} คือ ตำแหน่งในการแสดงผลซึ่งระบุตำแหน่งด้วยค่าดัชนี(index)


ตัวอย่าง 


จากโค้ดแสดงผลการรัน  ได้ดังนี้


          จากตัวอย่างผลการรัน  จะสังเกตเห็นตำแหน่งของเลขดัชนีภายในเครื่องหมายปีกกา ซึ่งสามารถจัดรูปแบบการแสดงผลได้ตามความต้องการ
          การควบคุมรูปแบบตัวอักษร หรือความกว้างความยาวของตัวอักษร เพื่อจัดรูปแบบการแสดลผล สามารถเขียนตัวอักขระควบคุมไว้ในเครื่องหมายปีกกา โดยที่นิพจน์ในเครื่องหมาย [ ] จะมีหรือไม่มีก็ได้ ดังนี้



  • Index   เป็นจำนวนเต็มเริ่มจาก 0 ใช้แทนลำดับของตัวแปรหรือค่าที่ต้องการแสดงผล
  • Alignment เป็นจำนวนเต็มใช้ระบุความกว้างหรือจำนวนตัวอักษรที่จะใช้แสดงผล
  • Format Specifier   เป็นตัวอักขระใช้กำหนดรูปแบบการแสดงผล
ตารางอักขระกำหนดรูปแบบ (Format Specifier)


ตัวอักขระกำหนดรูปแบบ
ความหมาย
C
แสดงรูปแบบเงินตรา
E
แสดงรูปแบบทางวิทยาศาสตร์
F
แสดงรูปแบบทศนิยม
G
แสดงค่าคงที่ทั่วไปในรูปแบบที่สั้นที่สุด
N
แสดงตัวเลขโดยมีการใส่เครื่องหมายจุลภาค คั่นทุกๆตัวเลข 3 หลัก
X
แสดงรูปแบบเลขฐานสิบหก


ตัวอย่างการจัดรูปแบบการแสดลผลลักษณะต่างๆ 
1.  ตัวอย่าง การกำหนดความกว้างของการแสดงผล 

|1|  Module Module1
|2
|3|      Sub Main()
|4|          Console.WriteLine("A = {0} B =  {1} ", 123, 456)
|5|          Console.WriteLine("123456789")
|6|          Console.WriteLine("{0,9}", 1234) ' ตัวเลขความกว้าง 9 ตัวอักษรชิดขวา
|7|          Console.WriteLine("123456789")
|8|          Console.WriteLine("{0,-9}", 1234) ' ตัวเลขความกว้าง 9 ตัวอักษรชิดซ้าย
|9|          Console.ReadLine()
|10|     End Sub
|11|
|12| End Module

 จากโค้ดแสดงผลการรัน  ได้ดังนี้


2.  ตัวอย่าง การแสดงผลตัวเลขในลักษณะต่างๆ โดยใช้อักขระควบคุม 
|1|  Module Module1
|2
|3|      Sub Main()
|4|          Console.WriteLine("{0,20:G} ", 123456789)        ' แสดงความกว้าง 20 ตัวอักษร
|5|          Console.WriteLine("{0:C} ", 123456789)
|6|          Console.WriteLine("{0:E} ", 123456789)
|7|          Console.WriteLine("{0:F5} ", 123456789.12345679)
|8|          Console.WriteLine("{0:G} ", 123456789)
|9|          Console.WriteLine("{0:N} ", 123456789)
|10|         Console.WriteLine("{0:X} ", 123456789)
|11|
|12|         Console.ReadLine()
|13|     End Sub
|14| End Module
จากโค้ดแสดงผลการรัน  ได้ดังนี้
สำหรับทศนิยมสามารถระบุจำนวนได้อีก เช่น  {0:F4} คือ แสดงทศนิยมสี่ตำแหน่ง
**********************************************






0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
ไม่สงวนลิขสิทธิ์บทความใดๆในบล๊อคนี้ หากท่านเห็นว่าเป็นประโยชน์..สามารถเผยแพร่ได้ตามสมควร